วันอาทิตย์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2555

การทำนาเป็ด

การทำนาเป็ด 

            เป็นการทำนาวิธีใหม่ที่ใช้เป็ดมาช่วยทำนา เดิมทีมีผู้ประกอบอาชีพเลี้ยงเป็ดฝูงขนาดใหญ่จำนวนมากได้เลี้ยงเป็ดแบบลดต้นทุนการผลิต หรือเรียกว่า “ เป็ดทุ่ง “ โดยการปล่อยฝูงเป็ดตั้งแต่ขนาดยังเล็กจากท้องทุ่งแถวจังหวัดอุทัยธานี ชัยนาท ให้ฝูงเป็ดเหล่านั้น เก็บกินข้าวเปลือก กุ้ง หอย ปู ปลาในท้องนาที่เก็บเกี่ยวข้าวแล้วเป็นอาหาร และเดินทางแบบค่ำไหนนอนนั่นเรื่อยมา เป็นแรมเดือน จนถึงจังหวัดพระนครศรีอยุธยาหรือปทุมธานี ฝูงเป็ดที่เลี้ยงจะโตมีขนาดพอดีกับการจับจำหน่าย หรือนำไปเลี้ยงต่อ การเลี้ยงเป็ดวิธีนี้ทำกันมาหลายปีจวบจนความเจริญของบ้านเมืองเกิดขึ้น มีการก่อสร้างตึกอาคารบ้านเรือนและถนนเป็นจำนวนมาก ไม่สะดวกกับการเดินทางเคลื่อนย้ายฝูงเป็ดเหมือนเช่นแต่ก่อน ประกอบกับการทำนาในระยะหลังนี้ไม่มีมีฤดูกาลเหมือนเช่นแต่ก่อน ที่ส่วนใหญ่ตลอดเส้นทางการเคลื่อนย้ายฝูงเป็ดจะปลูกข้าวปีละ 1 ครั้ง ตามธรรมชาติข้าวจะแก่และเก็บเกี่ยวจากเหนือลงใต้ ดังนั้น ฝูงเป็ดจึงเดินทางหากินจากเหนือไล่ลงมาใต้พอดีกับระยะเวลาเก็บเกี่ยว อีกประการหนึ่งที่สำคัญคือ เมื่อวิถีการทำนาเปลี่ยนแปลงจากปีละครั้ง เป็นแบบต่อเนื่องไม่มีฤดูกาล เกษตรกรผู้ปลูกข้าวมีการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูข้าวมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งสารเคมีกำจัดหอยเชอรี่ ทำให้เป็ดตายเป็นจำนวนมาก และไม่มีสิ่งมีชีวิตที่เป็นอาหารของเป็ดหลงเหลืออยู่ในนาข้าวอีกเลย จึงทำให้วิถีการประกอบอาชีพเลี้ยงเป็ดพเนจร หรือ เป็ดทุ่ง หมดไป
          ในปี พ.ศ. 2540 เศรษฐกิจของประเทศไทยตกต่ำ เกษตรกร ท้องทุ่งบางระจัน ดินแดนแห่งคนกล้า ได้หันมาเลี้ยงเป็ดเป็นอาชีพเสริม เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัวเป็นจำนวนมาก โดยเป็ดที่เลี้ยงส่วนมากจะใช้รถอีแต๋นลากกระบะที่ทำเป็นกรงบรรทุกเป็ด นำไปปล่อยเลี้ยงในพื้นที่ใกล้ ๆ หมุนเวียนไปในท้องทุ่งบางระจัน เพราะการทำนาในท้องทุ่งบางระจันมีการทำแบบหมุนเวียนต่อเนื่องตลอดทั้งปี จึงทำให้มีที่สำหรับเลี้ยงเป็ดได้ตลอดปี

          ขณะที่เลี้ยงเป็ดในทุ่ง เกษตรกร สกล จีนเท่ห์ ก็ใช้ความสังเกตุจากประสบการณ์ที่ได้รับจากการเรียนรู้ในเรื่องของระบบนิเวศในโรงเรียนเกษตรกร ผนวกกับข้อจำกัดของการทำนาแบบล้มตอซังมาประยุกต์ ทดลองเอาเป็ดมาช่วยทำนา กล่าวคือ ภายหลังจากเกี่ยวข้าวแล้วก็ปล่อยเป็ดลงไปลุยในพื้นที่นา เพื่อเก็บหอยเชอรี่ เมล็ดข้าวเปลือก เมล็ดหญ้า และอื่น ๆ กิน ฟางที่อยู่ในนาก็จะถูกเป็ดย่ำจนเปื่อย มูลของเป็ดที่ถ่ายออกมาก็จะเป็นปุ๋ยให้แก่ต้นข้าวในนา หลังจากนั้นจึงเอาเป็ดออกจากแปลงนา และหว่านเมล็ดข้าวลงไปโดยไม่ต้องไถพรวนดิน โดยวิธีการปฏิบัติคล้ายกับข้าวล้มตอซัง จะแตกต่างตรงที่ไม่ต้องใช้ล้อยางล้มตอซัง แต่ใช้เป็ดแทน และต้องใช้เมล็ดข้าวงอก (หุ้ม) หว่าน ไม่ใช้ต้นแตกใหม่จากตอซัง เกษตรกร สกล จีนเท่ห์ ทดลองทำติดต่อกันมากกว่า 10 ฤดู จนมั่นใจว่าเป็นวิธีที่ดี และเหมาะสมที่สุดสำหรับท้องทุ่งบางระจัน และให้ ชื่อการทำนาวิธีนี้ว่า “ การทำนาเป็ด ” ซึ่งในปัจจุบันอำเภอบางระจัน หรือที่เรียกว่า “ บางรักชาติ ” มีพื้นที่นาเป็ดถึง 25,800 ไร่ และกำลังขยายเพิ่มอย่างต่อเนื่องในทุกฤดูกาล โดยมีวิธีการทำดังนี้

          1.    ก่อนการเก็บเกี่ยวข้าวประมาณ 15 วัน ให้ระบายน้ำออกจากแปลงให้แห้ง เพื่อที่รถลงไปเกี่ยวจะได้ไม่เป็นร่องหรือรอยรถ และสะดวกในการเก็บเกี่ยว ปัจจุบันรถเกี่ยวข้าวจะติดเครื่องตีฟางให้กระจายไปทั่วโดยไม่ต้องจ้างเกลี่ยฟางปล่อย ไว้ 1 – 2 วัน ก็ทำการจุดไฟเผาตอซัง เพื่อให้ตอเก่านั้นตาย ถ้าปล่อยไว้ตอเก่าจะแตกหน่อทำให้ข้าวออกรวงไม่พร้อมกัน และเมื่อหว่านข้าว เมล็ดจะตกไม่ถึงดิน 
         2.    หลังเผาตอซังเอาน้ำเข้าแปลงให้ทั่ว และให้เป็ดลงไปหาอาหาร เพื่อกำจัดหอยเชอรี่และศัตรูพืชประมาณ 2 – 3 วัน 
        3.    แช่เมล็ดพันธุ์ข้าว (หุ้ม)ไว้ 1 คืน แล้วนำไปหว่านในแปลงอัตรา 20 – 25 กก./ไร่ แล้วแช่เมล็ดพันธุ์ที่หว่านลงในแปลงไว้ 24 ชั่วโมง จึงระบายน้ำออก และให้ทำการตรวจแปลงตามที่ลุ่ม ๆ เพื่อระบายน้ำออกให้หมดทั่วทั้งแปลงนา 
          4.    หลังจากข้าวงอกแล้วประมาณ 8 – 9 วัน ก็เริ่มฉีดยาคุมวัชพืชเหมือนการทำนาน้ำตม 
          5.    การใส่ปุ๋ยครั้งที่ 1 หลังจากหว่านข้าว 20 – 25 วัน ใส่ปุ๋ยสูตร 16 – 20 – 0 จำนวน 15 กก./ไร่ และสูตร 46 – 0 – 0 จำนวน 15 กก./ไร่ 
         6.    การใส่ปุ๋ยครั้งที่ 2 ข้าวอายุ 50 – 55 วัน ใส่ปุ๋ยสูตร 46 – 0 – 0 จำนวน 10 กก./ไร่ 
         7.    การเก็บเกี่ยวเมื่ออายุประมาณ 110 – 115 วัน 
         8.    ผลผลิตเฉลี่ยประมาณ 900 – 1,000 กก./ไร่ 

ประโยชน์ที่รับจากการทำนาเป็ด

1.    ลดต้นทุนการผลิต 
       - ค่าเตรียมดิน 350 บาท/ไร่ 
       - ค่าจ้างชักร่อง 50 บาท/ไร่ 
       - สารเคมีกำจัดหอยเชอรี่ 50 บาท/ไร่ รวม 450 บาท/ไร่ 
2.    รักษาสภาพแวดล้อม โดยเฉพาะลดการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดหอยเชอรี่ ซึ่งทำลายสิ่งแวดล้อม   
       รุนแรง (เอ็นโดซัลแฟน) 
3.    ลำต้นข้าวแข็งแรง รวงใหญ่ ปริมาณเมล็ดมาก ให้ผลผลิตสูงกว่าการทำนา หว่านน้ำตม 
4.    ผลผลิตสูงขึ้น (ผลผลิตเฉลี่ย 900 – 1,000 กก./ไร่) ใช้เปลือกไข่ไล่เพลี้ยไฟเปลือกไข่สดมีแคลเซียม
       และกำมะถัน โดยใช้เปลือกไข่ครอบปลายหลักไม้ปักไว้ในแปลงเพาะปลูกพืช ซึ่งเปลือกไข่เมื่อถูก  
       แสงแดดจะทำให้กลิ่นกำมะถันระเหยออกมาไล่เพลี้ยไฟได้ดีฉี่วัวกำจัดแมลง นำฉี่วัวตากแดด
       ประมาณ 2 สัปดาห์จะไม่มีกลิ่น จำนวน 1 ลิตร ผสมน้ำ 2 - 3 ลิตร ผสมสาร จับใบ เช่น สบู่ 1-2 ช้อน  
       ฉีดพ่นพริก 3 วัน/ครั้ง จะป้องกันกำจัดแมลงหวี่ขาว เพลี้ยไฟ ไรขาว หนอนเจาะลำต้น หนอนกินใบ
       พริก


การถ่ายพยาธิให้ไก่ วิธีชาวบ้าน

วิธีที่หนี่ง
ก่อนถ่ายพยาธิลองทุบหอยนาให้ไก่กินตอนเช้าประมาณสามวัน วันที่สี่ค่อยให้กินยาถ่ายพยาธิ 
วิธีที่สอง
เป็นวิธีที่พยาธิมันดื้อยาไม่แนะนำให้ใช้กับไก่เล็ก ไก่ใหญ่ถ้าไก่ผอมก็ไม่ควรใช้ 
ตัวยาคือ หมากที่ผู้เฒ่าผู้แก่แต่ต้องเป็นหมากอ่อน ลูกประมาณเท่าข้อนิ้วมือ ผ่าครึ่ง
เอาเนิ้อหมาก 1/4 ของหมาก แล้วเอาเนี้อมะขามเปียกปั้นเป็นก้อน แล้วให้กินน้ำตามมากๆ 
หรือให้กินแต่น้อยแล้วค่อยดูอาการก่อน สำหรับมือใหม่เพราะถ้าให้กินเยอะไก่จะเมาได้ 



พยาธิที่ไก่ถ่ายออกมา 
   
credit : บ้านมหา ดอทคอม

การผลิตน้ำส้มสายชูจากกล้วยน้ำว้า

การผลิตน้ำส้มสายชูจากกล้วยน้ำว้า
วิธีการหมักน้ำส้มสายชูจากกล้วยน้ำว้า

วัสดุที่ใช้
    1.กล้วยน้ำว้าสุกจัด จำนวน 2หวี

    2.น้ำตาลทราย จำนวน 4-5ช้อนโต๊ะ
    3.ขวดโหลหรือภาชนะอื่นๆ(เน้นเป็นแก้ว) ที่สามารถบรรจุได้ 4-5ลิตร จำนวน       
      1ใบ
    4.น้ำสะอาด จำนวน 3-4ลิตร 


ขั้นตอนและส่วนผสมของการทำน้ำส้มสายชูจากกล้วยน้ำว้า
วิธีการทำ
    1.ปอกกล้วยน้ำว้าสุกจัดใส่กะละมัง จากนั้นนำไปปั่นในเครื่องปั่นให้ละเอียด แล้วนำลงใส่ในขวดโหลที่ได้เตรียมไว้
    2.ใส่น้ำตาลทรายและน้ำตามลงไป ปิดฝาขวดโหลดให้สนิทหมักไว้ประมาณ 15วันก็จะได้น้ำส้มที่มีความเปรี้ยวตามที่ต้องการ
    3.เมื่อได้ความเปรี้ยวจากกล้วยน้ำว้าแล้ว จะต้องกรองน้ำส้มออกจากขวดโหลดโดยใช้ผ้าขาวบางในการกรอง แล้วใส่ขวดโหล   
       เก็บไว้ใช้ได้ต่อไป จะเก็บในตู้เย็นหรือในห้องอุณหภูมิปกติก็ได้น้ำส้มสายชูที่ได้จากการหมักกล้วยน้ำว้า 


       สามารถนำไปประกอบอาหารได้ตามปกติ แต่รสชาติจะไม่เปรี้ยวจัดเหมือนน้ำส้มสายชู 5% รสชาติจะกลมกล่อม และไม่มีสารพิษนั้นเอง 

ข้อมูลจาก :คุณทรงกช สนเท่ห์ เกษตรกรบ้านหนองโป่ง ต.ลำพญากลาง อ.มวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี
       รักบ้านเกิดดอทคอม




การปลูกข้าวโดยใช้ฟางคลุมดินเพื่อลดการระเหยของน้ำในฤดูแล้ง


  1. หลังจากเก็บเกี่ยวข้าวเสร็จ 1 วัน ทำการหว่านข้าวทันที ซึ่งเป็นข้าวแห้ง
  2. หลังจากหว่านเสร็จ เกลี่ยฟางให้กระจายสม่ำเสมอทั่วทั้งแปลง
  3. ทิ้งไว้ประมาณ 3 วัน เพื่อให้ฟางแห้ง แล้วปล่อยน้ำเข้าพื้นที่นาชุ่มชื้นพอเปียก
  4. หลังจากข้าวงอก 7 - 10 วัน ทำการกำจัดวัชพืช
  5. หลังจากข้าวงอก 20 - 25 วัน ใส่ปุ๋ยครั้งที่ 1 สูตร 16 - 20 - 0 อัตรา 20 - 35 กก./ไร่
  6. ดูแลรักษาตามปกติ ตามกระบวนการโรงเรียนเกษตรกรในพระราชดำริ
  7. ข้าวอายุ 50 - 55 วัน ในช่วงกำเนิดช่อดอก ใส่ปุ๋ยครั้งที่ 2 สูตร 21 - 0 - 0 อัตรา 10 - 15 กก./ไร่ เป็นการแต่งหน้า
ประโยชน์ :
  • สามารถลดต้นทุนในการไถพรวนได้ ไร่ละ 500 บาท ไม่เสียเวลาและแรงงานในการเตรียมดิน
  • ฟางข้าวและตอซัง จะช่วยทำให้เมล็ดข้าวและดิน มีความชื้นอยู่ตลอดเวลาในอากาศที่ร้อนและแห้งแล้ง
ข้อมูลติดต่อ : นายนันทศักดิ์ แคล้วประยูร เลขที่ 7 หมู่ 3 ต.บางเลน อ.สองพี่น้อง จ.สุพรรณบุรี  

การทำมะพร้าวกะทิ


   วิธีที่ 1 ทำมะพร้าวจากมะพร้าวพันธุ์อะไรก็ได้ ถ้าต้องการให้ลูกออกมาเป็นมะพร้าวกะทิ ก็เอาถุงพลาสติกหุ้มจั่น จั่นก็คือดอกมะพร้าว 1 จั่นคือ 1 ทะลาย จั่นไหนถูกห่อด้วยพลาสติก จั่นนั้นหรือทลายดอกนั้นมันจะพิการ ทั้งนี้จะต้องห่อตั่งแต่กลีบจั่นเริ่มแย้มบาน ห่อไปจนกระทั่งมีลูกขนาดลูกหมากจึงค่อยเอาออก โดยทั่วไปมะพร้าวในทะลายที่ห่อจั่นประมาณ 80-90 % จะเป็นมะพร้าวกะทิ วิธีนี้เป็นการทำมะพร้าวกะทิแบบชั่วคราว มะพร้าวในทะลายอื่น ๆ ที่ไม่ได้ห่อจั่นจะไม่เป็นมะพร้าวกะทิ
   วิธีที่ 2 เป็นการทำมะพร้าวกะทิแบบถาวร วิธีนี้ให้นำมะพร้าวที่เพาะไว้ ที่มีหน่อเหนือเปลือกขึ้นมาราว 30 ซม. แล้วใช้มีดตัดส่วนปลายตรงข้ามกับหน่อให้กะลาขาด จนเห็นเนื้อสีขาวและจาวสีเหลือง ภายในกะลามะพร้าวจากนั้นคว้านเอาจาวที่อยู่กลางกะลาออก เอาดินเหนียวอัดลงไปในกะลาแทนจาวจนเต็มและแน่นพอประมาณ สามารถนำไปปลูกได้ นายมานิตย์ เล่าให้ฟังว่า มะพร้าวที่ทำวิธีนี้จะเป็นมะพร้าวกะทิประมาณ 50 % หากจะเพิ่มปริมาณ ก็สามารถทำได้โดยให้เอาผลมะพร้าวที่ไม่เป็นมะพร้าวกะทิมาเพาะแล้วทำวิธีการเดียวกับที่กล่าวมานี้ ก็จะทำให้มะพร้าวในต้นใหม่เป็นมะพร้าวกะทิ ถึง 80 -90 % ทีเดียว มะพร้าวทุกพันธุ์สามารถทำมะพร้าวกะทิได้ทั้งสิ้น แต่ถ้าใช้มะพร้าวน้ำหอม ทำมะพร้าวกะทิไม่ดีเพราะมีกลิ่นเหม็นหืน มะพร้าวที่ดีที่สุดในการทำมะพร้าวกะทิคือ มะพร้าวกลาง


ประโยชน์ :
ช่วยทำให้เศรษฐกิจของเกษตรกรดีขึ้น เป็นทางเลือกใหม่ของเกษตรกรในท้องถิ่น

ข้อมูลติดต่อ : 23/20 หมู่ 3 ต.ชายนา อ.เสนา จ.พระนครศรีอยุธยา 13100 โทร. 01-8065608  

การทำปุ๋ยจากฟางข้าว


          ทุกปีหลังจากฤดูกาลเก็บเกี่ยวข้าวแล้ว จะมีเศษฟางในท้องนาเป็นจำนวนมาก เกษตรกรสามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ได้ เช่น การทำปุ๋ยหมักซึ่งเกษตรกรสามารถจะทำเองได้และเสียค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด วิธีทำมีดังนี้ นำฟางข้าวมากองหรือวางเรียงให้ได้ขนาดกว้าง 2 เมตร ยาว4เมตร สูงประมาณ25ซ.ม. ขึ้นย่ำพร้อมรดน้ำให้ชุ่ม จากนั้นให้นำมูลสัตว์40ก.ก. และปุ๋ยยูเรียอีกครึ่งก.ก. โรยให้ทั่วกอง ต่อมาทำชั้นที่2ชั้นที่ 3 และชั้นที่4เหมือนชั้นแรก ชั้นบนสุดให้เอาหน้าดินทับให้ทั่วกอง เพื่อกันความชื้นระเหยและเป็นการเพิ่มปริมาณจุลินทรีย์ในกองปุ๋ยหมัก จากนั้นให้นำทางมะพร้าวมาคลุมไว้ กันสัตว์มาคุ้ยเขี่ย เมื่อกองได้ครบ7วัน ให้กลับกองปุ๋ยหมักและอีก 7วันต่อมา กลับอีกครั้ง หลังจากนั้นให้กลับทุกๆ14วัน ให้น้ำเมื่อเห็นว่ากองปุ๋ยแห้งเกินไป จะใช้เวลาประมาณ3เดือนครึ่ง ฟางข้าวก็จะสลายตัวเป็นปุ๋ยหมัก นำไปใช้ประโยชน์ แต่ทั้งนี้ จะต้องให้น้ำและกลับกองปุ๋ยหมักอย่างสม่ำเสมอ
การทำปุ๋ยหมักจากฟางข้าวตามขนาดของกองที่กล่าวมา คือ กว้าง 2 เมตร ยาว 4 เมตร และสูงประมาณ 1 เมตร จะผลิตปุ๋ยหมักได้ประมาณ1,250กิโลกรัม


ประโยชน์ :
  • ลดปริมาณการซื้อปุ๋ยเคมี
  • เป็นการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน

วันจันทร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

การ แปลง หน่วย

การแปลงมวลน้ำหนัก,Weight_Mass Conversion:
กิโลกรัม , ต่อตัน [t] , กรัม , กะรัต [CT] , ปอนด์ (US, UK) , ปอนด์ (troy โลหะมีค่า) , ออนซ์ , ออนซ์ (troy โลหะมีค่า) , ตันยาว (UK) , ตันสั้น (US) , grain , cental , hundredweight (US) , hundredweight (UK) , slug (g-pound) , หิน , มวล Earth , มวลพลังงานแสงอาทิตย์ ,

แปลงยาว,Length Conversion:
เมตร , กิโลเมตร , เฮกโตเมตร , เดซิเมตร , เซนติเมตร , มิลลิเมตร , ไมโครมิเตอร์ , นาโนเมตร , picometer , angstrom [A] , นิ้ว , เท้า (US) , หลา [yd] , ไมล์ (ต่างประเทศ) , thou(=mil) , ล้าน , ไมล์ทะเล , ไมล์ทะเล (UK) , em (pica)(=1/6 นิ้ว) , พาร์-วินาที , มือ , หน่วยดาราศาสตร์ , ปีแสง , barleycorn(=1/3 นิ้ว) , สายเคเบิล(หน่วยทะเล) , โซ่ , ell (หน่วยผ้า UK) , หยั่ง , furlong ,

ปริมาณการเปลี่ยน,Volume Conversion:
ลิตร , ลิตร (1901-1964) , ลูกบาศก์เดซิเมตร , ลูกบาศก์เดคาเมตร , ลูกบาศก์เมตร , เดซิลิตร , centiliter , ลูกบาศก์เซนติเมตร , มิลลิลิตร , ลูกบาศก์มิลลิเมตร , เท้า acre , ลูกบาศก์หลา , ลูกบาศก์ฟุต , นิ้วลูกบาศก์ , แกลลอน (UK) , แกลลอน (US แห้ง) , แกลลอน (US) , บาร์เรล (น้ำมัน) , บาร์เรล (UK) , บาร์เรล (US) , ออนซ์ของเหลว (UK) , ออนซ์ของเหลว (US) , ไพน์ (สหราชอาณาจักร) , ไพน์ (US แห้ง) , ไพน์ (US) , quart (UK) , quart (US แห้ง) , quart (US) , ถ้วย (US) , ถ้วย (เมตริก) , ถ้วย (UK) , ช้อนโต๊ะ (US) , ช้อนโต๊ะ (เมตริก) , ช้อนโต๊ะ (UK) , ช้อนชา (US) , ช้อนชา (เมตริก) , ช้อนชา (UK) ,

การ เปลี่ยนแปลง อุณหภูมิ,Temperature Conversion:
เซลเซียส [°C] , ฟาเรนไฮต์ [°F] , เคลวิน [K] , Rankine [°R] , Reaumure [°r] ,

แปลงพื้นที่,Area Conversion:
ตารางเมตร , ตารางกิโลเมตร , เฮกตาร์ , are , ตารางเซนติเมตร , ตารางมิลลิเมตร , acre [ac] , ตารางไมล์ , ตร. ว , ตารางฟุต (US, UK) , ตารางฟุต (สำรวจ US) , ตารางนิ้ว , คันตาราง , นิ้วกลม , rood , ชาวเมือง(township) ,

แปลง ความ ดัน,Pressure Conversion:
ปาสคาล , กิโลกรัมปาสคาล , hectopascal , นิวตันเด่น/ตารางมิลลิเมตร , นิวตันเด่น/ตารางเมตร , กิโลกรัมนิวตัน/ตารางมิลลิเมตร , กิโลกรัมนิวตัน/ตารางเมตร , นิวตัน/ตารางมิลลิเมตร , นิวตัน/ตารางเซนติเมตร , นิวตัน/ตารางเมตร , แถบ , มิลลิบาร์ , แรงกิโลกรัม/ตารางเซนติเมตร , แรงกิโลกรัม/ตารางเมตร , ตันยาว/ตารางเซนติเมตร , ตันยาว/ตารางเมตร , ตันยาว(UK)/ตารางฟุต , ตันยาว(UK)/ตารางนิ้ว , ตันยาว(US)/ตารางฟุต , ตันยาว(US)/ตารางนิ้ว , ปอนด์/ตารางนิ้ว , ปอนด์/ตารางฟุต , เซนติเมตรของปรอท , มิลลิเมตรของปรอท , นิ้วของปรอท , มิเตอร์น้ำ , น้ำเซนติเมตร , มิลลิเมตรน้ำ , เท้าของน้ำ , นิ้วของน้ำ , poundal/ตารางฟุต , บังคับนอน /ตารางนิ้ว , torr (mm Hg 0°C) , บรรยากาศ ,

การ แปลง พลังงาน,Energy Conversion:
จูล , gigajoule [GJ] , จูลเด่น , จูลกิโลกรัม , วัตต์สอง , กิโลวัตต์ชั่วโมง , วัตต์ชั่วโมง , นิวตัน เมตร , แคลอรี่ (IT) , แคลอรี่ (th) , แคลอรี่(mean) , แคลอรี่ (15C) , แคลอรี่ (20C) , แคลอรี่(โภชนาการ) , กิโลแคลอรี่ (IT) , กิโลแคลอรี่ (th) , Btu (th) , Btu (mean) , หน่วยความร้อนเซนติเกรด , โวลต์อิเล็กตรอน , ชั่วโมงแรงม้า , กิโลกรัม เมตร , เท้า -ปอนด์ , นิ้ว -ปอนด์ , therm , erg , poundal เท้า ,

กำลังแปลง,Power Conversion:
วัตต์ , gigawatt , วัตต์เด่น , กิโลวัตต์ , จูล/ชั่วโมง , จูล/นาที , จูล/สอง , แคลอรี่ (th)/ชั่วโมง , แคลอรี่ (th)/นาที , แคลอรี่ (th)/สอง , กิโลแคลอรี่ (th)/ชั่วโมง , กิโลแคลอรี่ (th)/นาที , กิโลกรัม เมตร /ชั่วโมง , กิโลกรัม เมตร /นาที , เท้า -ปอนด์ /นาที , เท้า -ปอนด์ /สอง , แรงม้า (ไฟฟ้า) , แรงม้า (ต่างประเทศ) , แรงม้า (น้ำ) , แรงม้า (เมตริก) , Btu/ชั่วโมง , Btu/นาที , Btu/สอง ,

แปลง แรง,Force Conversion:
นิวตัน , นิวตันเด่น , นิวตันกิโลกรัม , sthene (=kN) , dyne , บังคับต่อตัน , บังคับต่อตัน (สหราชอาณาจักร) , บังคับต่อตัน (US) , แรงกิโลกรัม , บังคับปอนด์ , kip , poundal ,

การ แปลง เวลา,Time Conversion:
สอง , femtosecond , picosecond , nanosecond , ล้านของวินาที , millisecond , นาที , ชั่วโมง , วัน , สัปดาห์ที่ , เดือน , เดือน synodic , ปี , ปีเกี่ยวกับดวงดาว , ปีจูเลียน , ปีอธิกสุรทิน , ปีสุริยคติ , ปักษ์ , สหัสวรรษ , ศตวรรษ , ทศวรรษ , shake ,

มุมแปลง,Angle Conversion:
วงเวียน , องศา , gon , grad , ล้าน (นาโต) , ล้าน (สหภาพโซเวียต) , ล้าน (สวีเดน) , arcminute , arcsecond , เรเดียน , การปฏิวัติ , หัน , octant , quadrant , sextant , sign ,

การบริโภคเชื้อเพลิงแปลง,Fuel_Consumption Conversion:
แกลลอน (UK)/100 ไมล์ , แกลลอน (US)/100 ไมล์ , กิโลเมตร /ลิตร , ลิตร / 100 กิโลเมตร , ลิตร /เมตร , ไมล์/แกลลอน (UK) , ไมล์/แกลลอน (US) ,

แปลง หมายเลข,Number Conversion:
byte , bit , กิโลบิต , กิโลไบต์ , megabit , เมกะไบต์ , gigabit , กิกะไบต์ , terabit , terabyte , petabit , petabyte , exabit , exabyte ,

แปลง ความเร็ว,Speed Conversion:
เมตร/สอง , เมตร/นาที , เมตร/ชั่วโมง , เซนติเมตร /สอง , เซนติเมตร /นาที , กิโลเมตร/สอง , กิโลเมตร/ชั่วโมง , ไมล์/สอง , ไมล์/นาที , ไมล์/ชั่วโมง , นิ้ว /สอง , นิ้ว /นาที , เท้า/สอง , เท้า/นาที , เท้า/ชั่วโมง , หลา/สอง , หลา/นาที , หลา/ชั่วโมง , ปม , ไมล์ทะเล/ชั่วโมง , หมายเลขเครื่อง , ความเร็วของแสง ,

แปลง ความ หนาแน่น,Density Conversion:
กรัม /ลูกบาศก์เซนติเมตร , กรัม /ลิตร , กรัม /มิลลิลิตร , กิโลกรัม/ลูกบาศก์เมตร , กิโลกรัม/ลิตร , กรัมเด่น/ลูกบาศก์เมตร , มิลลิกรัม/มิลลิลิตร , มิลลิกรัม/ลิตร , ออนซ์/นิ้วลูกบาศก์ , ออนซ์/แกลลอน (UK) , ออนซ์/แกลลอน (US) , ปอนด์/นิ้วลูกบาศก์ , ปอนด์/ลูกบาศก์ฟุต , ปอนด์/แกลลอน (UK) , ปอนด์/แกลลอน (US) , เม็ด /แกลลอน (UK) , เม็ด /แกลลอน (US) , ต่อตัน/ลูกบาศก์เมตร , ต่อตัน(UK)/ลูกบาศก์หลา , ต่อตัน (US)/ลูกบาศก์หลา , กระสุน/ลูกบาศก์ฟุต ,

ปัจจุบันแปลงไฟฟ้า,Electric_Current Conversion:
ampere , teraampere , gigaampere , megaampere , kiloampere , milliampere , milliamp , microampere , nanoampere , picoampere , abampere , โวลต์ / โอห์ม , วัตต์ / โวลต์ , coulomb/สอง , โวลต์ Siemens , weber/henry , biot , EMU of current , ESU of current , franklin/สอง , gaussian กระแสไฟฟ้า , gilbert , statampere ,

http://th.bestconverter.org/

การคิดมาตราส่วนที่ดินแบบไทย

มาตราส่วน ไร่ งาน ตารางวา
มาตราส่วนที่ดินที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน เวลาเราจะคำนวณที่ดินโดยส่วนใหญ่จะมีอยู่หลักๆ ที่ปรากฏอยู่บนเอกสารสิทธิที่ดิน คือ ไร่ งาน และ ตารางวา

1 ตารางวา = 4 ตารางเมตร
100 ตารางวา (400 ตารางเมตร) = 1 งาน
4 งาน( 400 ตารางวา หรือ 1,600 ตารางเมตร) = 1 ไร่

แต่อาจมีเอกสารที่ดินแบบเก่าอาจระบุหน่วยความยาวเป็นเส้นก็ได้ โดย

1 เส้น = 40 เมตร
1 วา = 2 เมตร

ถ้าเรารู้ขนาดพื้นที่หน่วยใดหน่วยหนึ่ง เราก็สามารถแปลงให้เป็นอีกหน่วยได้ดังนี้

1:- การแปลงค่าจาก ตารางวา เป็น ตารางเมตร (ให้คูณด้วย 4)
เช่น 100 ตารางวา = 400 ตารางเมตร ซึ่งเท่ากับ 1 งาน
หรือ 500 ตารางวา = 2,000 ตารางเมตร

2:- การแปลงค่าจาก ตารางเมตร เป็น ไร่ (ให้หารด้วย 1600)
เช่น 2,000 ตารางเมตร = 1.25 ไร่ = 1 ไร่ 1 งาน (เอาเศษที่เหลือ คือ 0.25 คูณ 4 = 1 งาน)
หรือ 3,000 ตารางเมตร = 1.875 ไร่ = 1 ไร่ 3 งาน 50 ตารางวา (เอาเศษที่เหลือ คือ 0.875 คูณ 4 = 3.50)
สรุปคือ ถ้าหารแล้วเหลือเศษ ให้เอาเศษที่เหลือ คูณด้วย 4 ได้เท่าไหร่
ตัวเลขหน้าจุดทศนิยมจะเป็น หน่วย งาน หลังจุดทศนิยมจะเป็น หน่วย ตารางวา

3:- การแปลงค่าจาก ตารางเมตร เป็น ตารางวา (ให้หารด้วย 4)
เช่น 400 ตารางเมตร = 100 ตารางวา
หรือ 1,500 ตารางเมตร = 375 ตารางวา

4:- การแปลงค่าจาก ตารางวา เป็น ไร่ (ให้หารด้วย 400)
เช่น 600 ตารางวา = 1.5 ไร่ = 1 ไร่ 2 งาน (เอาเศษที่เหลือ คือ 0.5 คูณ 4 = 2 งาน)
หรือ 950 ตารางวา = 2.375 ไร่ = 2 ไร่ 1 งาน 50 ตารางวา (เอาเศษที่เหลือคือ .375 คูณด้วย 4 = 1.50)
สรุปคือ ถ้าหารแล้วเหลือเศษ ให้เอาเศษที่เหลือ คูณด้วย 4 ได้เท่าไหร่
ตัวเลขหน้าจุดทศนิยมจะเป็น หน่วย งาน หลังจุดทศนิยมจะเป็น หน่วย ตารางวา

5:- การแปลงจากไร่ เป็น ตารางวา (ให้คูณด้วย 400)
เช่น 5 ไร่ = 2,000 ตารางวา

6:- การแปลงจากไร่ เป็นตารางเมตร (ให้คูณด้วย 1,600)
เช่น 5 ไร่ = 8,000 ตารางเมตร

ซึ่งสูตรเหล่านี้จะกลับไปกลับมาระหว่าง ไร่ งาน ตารางวา และตารางเมตร

Credit : www.ที่ดินภูเก็ต.com

หรือเข้าไปที่ เว็ปไซด์ http://www.plus.co.th/th/InvestmentTools/lightbox_area_converter.aspx?width=860&height=770






จาก:
ไปที่:
ผล:
การแปลงมวลน้ำหนัก